คดีเช่าซื้อรถยนต์

คดีเช่าซื้อรถยนต์
โดยปกติเมื่อทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับไฟแนนซ์ มักจะมีข้อสัญญาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ห้ามผิดนัดหรือค้างชำระค่าเช่าซื้อเกินกว่า 3 งวดติดต่อกัน 

หากผู้เช่าผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเกิน 3 งวด ติดต่อกัน ถือว่า ผู้เช่าซื้อผิดนัด และ ผู้ให้เช่าซื้อสามารถยึดรถคันดังกล่าวได้ทันที

เรื่องนี้หลายท่านก็ทราบดี และกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก บางคนพอมีเงินก็รีบไปจ่ายทันที แต่บางคนไม่มีเงิน ก็ขอผ่อนผันการชำระ 

หลายๆคนคงเคยประสบปัญหาคล้ายๆกันประการหนึ่งคือ การชำระค่าเช่าซื้อที่ไม่ตรงตามเวลา เช่น

สัญญาเช่าซื้อ ผ่อนชำระ 36 งวด แรกๆก็ไม่มีปัญหาในการจ่าย ต่อมาเริ่มมีปัญหาในการจ่ายค่างวด เช่น ค้างค่าเช่าซื้อ งวดที่ 11, 12 และ 13 รวม 3 งวดติดต่อกัน แต่พอ ถึง งวดที่ 14 ก็นำเงินไปจ่ายของงวด 14 และของเก่า อีก 1 งวด (งวดที่ 11 ) ทำให้เหลือค้างอีก 2 งวด คือ งวด ที่ 12 และ 13

ซึ่งตัวแทนของไฟแนนซ์ก็รับไว้เป็นปกติ

ต่อมาถึงงวดที่ 15 ,16 ,17และ 18 ก็ค้างอีก

พอถูกทวง ก็รีบนำไปจ่ายใน งวดที่ 19 และนำของเก่า ที่ค้างจ่ายไปชำระอีก 1 งวด รวมเป็น 2 งวด ซึ่งไฟแนนซ์ ก็รับค่าเช่าซื้อไว้เหมือนเดิม
ทำให้ค้างค่าเช่าสะสมเป็นหลายงวด

ต่อมาไฟแนนซ์ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ มายึดรถ โดยอ้างว่า เราผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ค้างค่าเช่า เกินกว่า 3 งวดติดต่อกัน เราจึงต้องคืนรถไป

*******************************

กรณีเช่นนี้ ที่มีอาการจ่ายบ้าง ค้างบ้าง รวมทั้งค้างค่าเช่าซื้อเกิน 3 งวดติดต่อกันตามตัวอย่างนี้

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ให้เช่าซื้อ จะยึดรถคืนไม่ได้ เพราะ ผู้เช่าซื้อ ไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด จึงไม่ต้องคืนรถ

เหตุที่ศาลฎีกาวินิจฉัยเช่นนี้ เพราะการที่ไฟแนนซ์ยอมรับหรือเก็บค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อไว้ แม้มีการค้างค่าเช่าซื้อเกิน 3 งวดติดกัน ศาลฎีกา ถือว่า คู่สัญญาไม่ติดใจในสัญญาข้อนั้น และถือว่าสัญญาดังกล่าว เป็นสาระสำคัญ แต่อย่างใด

*********************************
Visitors: 159,850